สาเหตุการเกิดฝ้า
ฝ้า มักขึ้นบริเวณผิวหน้า โหนกแก้ม สันจมูก และอาจเกิดที่หน้าฝาก สีน้ำตาลคล้ำๆ ไม่จนถึงดำ มีขนาดแตกต่างกัน ตั้งแต่เป็นหย่อมบริเวณเล็ก ๆ จนไปถึงขนาดใหญ่ เป็นวงกว้าง ฝ้ามักจะเกิดกับผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป และมักจะเกิดบริเวณผิวหนังส่วนที่ถูกแดด หรือความร้อนเป็นระยะเวลานาน โดยทั่วไปฝ้าจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่จะใช้การรักษาเพื่อให้จางลงจนไม่สังเกตุเห็น พอเวลาผ่านไป เมื่อบริเวณที่เคยรักษาไปแล้วถูกกระตุ้นด้วยแสงแดดหรือความร้อน ฝ้าก็สามารถกลับมาได้อีก
ชนิดของ ฝ้า
ฝ้า แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ ฝ้าตื้น และ ฝ้าลึก
- ฝ้าแบบตื้น จะอยู่ในระดับผิวหนังกำพร้า ชั้นนอก มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลขอบชัด เกิดได้ง่าย และสามารถรักษาหรือปกปิดให้หายไปได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ฝ้าชนิดนี้ยังรักษาโดยการใช้ยาทา และ ครีมกันแดดชนิตแบบเป็นรองพื้น ก็สามารถลบเลือนปกปิดให้หายไปได้
- ฝ้าแบบลึก อยู่ในชั้นที่ลึกกว่าชนิดแรก ลึกกว่าผิวหนังกำพร้า เกิดเป็นความผิดปกติในระดับชั้นผิวหนังแท้ มีลักษณะเป็นสีม่วงๆ อมน้ำเงิน ขอบเขตไม่ชัด รักษาได้ยากกว่า และไม่ค่อยหายขาด การใช้ยาทา และ ครีมกันแดด จะช่วยให้ดีขึ้นเท่านั้น โดยทั่วไปจะแนะนำให้ทำการรักษาด้วยการทำเลเซอร์
โดยการเป็นฝ้าสามารถเป็ยฝ้าชนิดใดชนิดหนึ่ง หรืออาจจะเป็นทั้ง 2 ชนิดพร้อมกันก็ได้
สาเหตุของการเกิดฝ้า
ฝ้าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน มีผลทำให้เกิดการกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสีในชั้นผิวหนัง ปัจจัยเหล่านี้อาจได้แก่
- แสงแดด และความร้อน เชื่อว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่เป็นสาเหตุให้เกิดฝ้า แสงอัลตราไวโอเลตทั้งชนิต เอ และ บี (UVA UVB) รวมทั้งแสง Visible Light และความร้อน จะเป็นตัวกระตุ้นให้เม็ดสีเมลานิน (Melanin) ภายในผิวทำงานผิดปกติจนเปลี่ยนสีเข้มขึ้น ดำขึ้น จนทำให้เกิดเป็นฝ้าขึ้นมา แสง รังสี และความร้อนนี้ จะมีมากในช่วงเวลา 10.00 โมงเช้า ไปถึง บ่าย 2 โมงเย็น มีผลให้ผิวหนังเกิดการไหม้ และเกิดฝ้าได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดในช่วงเวลาดังกล่าวเป็นเวลานาน และอีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแหล่งความร้อนต่างๆเป็นเวลานาน เช่น อยู่หน้าเตาไฟทำอาหาร สัมผัสวัสดุที่มีความร้อน เป็นต้น
- ฮอร์โมน ด้วยอิทธิพลของ ฮอร์โมน จะทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกาย (เช่น การตั้งครรภ์, วัยหมดประจำเดือน) หรือได้รับ ฮอร์โมน จากภายนอกร่างกาย (เช่น รับประทานยาคุมกำเนิด, การใช้ เครื่องสำอาง บางชนิดที่มี ฮอร์โมน ผสมอยู่) จึงมักพบผู้ที่เป็นฝ้าขณะตั้งครรภ์ หรือ รับประทานยาคุมกำเนิดได้
- ยา พบว่าผู้ที่รับประทานยากันชักบางชนิด มักเกิดผื่นดำคล้ายรอยฝ้าที่บริเวณใบหน้า จึงเชื่อว่ายานี้น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับการเกิดฝ้า
- เครื่องสำอาง การแพ้ส่วนผสมในเครื่องสำอางอาจทำให้เกิดรอยดำแบบฝ้าได้
- พันธุกรรม เชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากมีรายงานว่าเป็นในครอบครัวได้ถึง ร้อยละ 30-50
- ภาวะขาดสารอาหาร อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง เนื่องจากพบผื่นแบบฝ้า ในผู้ที่มีหน้าที่การทำงานของตับผิดปกติ และ ผู้ที่ขาดวิตามินบี12
มีปัญหา หรือต้องการสอบถามการรักษาฝ้า สามารถติดต่อ สอบถามได้ที่
https://line.me/R/ti/p/%40doctoryadaclinic
————————————————————————————-
Doctor Yada Clinic, PATTAYA LASER EXPERT!
Facial design & Innovative LASER.
You dream it, we do it!
ปรับรูปหน้าโดยไม่ศัลยกรรม
เปิดบริการทุกวัน 12.00-22.00 น.
ใต้มามั่น แมนชั่น พัทยากลางซอย10 (ซอยร้านอาหารแดงดำ)
Inbox : https://www.facebook.com/doctorYada/
tel : 0618407007
line@ : @doctoryadaclinic หรือกด link https://line.me/R/ti/p/%40doctoryadaclinic
website : www.doctoryadaclinic.com